ข้ามไปเนื้อหา

อะลี ญุมอะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อะลี ญุมอะฮ์
علي جمعة
มุฟตีใหญ่แห่งประเทศอียิปต์
ดำรงตำแหน่ง
28 กันยายน ค.ศ. 2003 – 11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013
ประธานาธิบดีฮุสนี มุบาร็อก
มุฮัมมัด ฮุซัยน์ ฏ็อนฏอวี (รักษาการ)
มุฮัมมัด มุรซี
ก่อนหน้าอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ
ถัดไปเชากี อัลลาม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1952-03-03) 3 มีนาคม ค.ศ. 1952 (72 ปี)
บะนีซุวัยฟ์, ราชอาณาจักรอียิปต์
เชื้อชาติอียิปต์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร (B.A.) (M.A.) (P.H.D.)
มหาวิทยาลัยอัยน์ชัมส์ (B.Com.)
มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (H.D.)
อาชีพนักวิชาการอิสลาม
เว็บไซต์draligomaa.com

อะลี ญุมอะฮ์ (อาหรับ: علي جمعة; อังกฤษ: Ali Gomaa[1]) เป็นนักวิชาการอิสลาม, นักกฎหมาย และบุคคลสาธารณะชาวอียิปต์ที่สร้างความขัดแย้งในท่าทีทางการเมืองเป็นจำนวนมาก[2][3][4][5][6][7] เขามีความชำนาญในด้านกฎหมายอิสลาม เขาดำเนินตามสำนักชาฟิอี[8] และหลักการศรัทธาตามแบบอัชอะรี[9][10] นอกจากนี้ เขายังเป็นศูฟีด้วย[11] ญุมอะฮ์เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนรัฐประหาร ค.ศ. 2013

เขาเคยดำรงตำแหน่งเป็นมุฟตีใหญ่แห่งประเทศอียิปต์คนที่ 18 (ค.ศ. 2003–2013) ผ่านดารุลอิฟตาฮ์ อัลมิศรียะฮ์ต่อจากอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ ในอดีต เขาเคยเป็นนักกฎหมายอิสลามที่ได้รับการเคารพ ตามรายงานจาก U.S. News & World Report ใน ค.ศ. 2008[12] กับ เดอะเนชันนัล[13] และรายงานจาก เดอะนิวยอร์กเกอร์ เขาเป็น "ผู้นำที่สนับสนุนมุสลิมสายกลางอย่างมาก"[14] อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิชาการตะวันตกได้ตั้งบุคลิกภาพของเขาเป็นผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบ "ลัทธิอำนาจนิยม"[3] และเดอะนิวยอร์กไทมส์กล่าวไว้ใน ค.ศ. 2013 ว่าเขาสนับสนุนให้กองกำลังรักษาความปลอดภัยฆ่าผู้ประท้วงต่อรัฐประหารในประเทศอียิปต์ในปีนั้น[2]

หลังจากเขาลงจากตำแหน่งเชากี อัลลามได้สืบทอดตำแหน่งมุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2013

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ethar El-Katatney The People's Mufti เก็บถาวร 2008-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Egypt Today October 2007.
  2. 2.0 2.1 Kirkpatrick, David D. (25 August 2013). "Egypt Military Enlists Religion to Quell Ranks". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 September 2019.
  3. 3.0 3.1 Fadel, Mohammad (1 January 2016). "Islamic Law and Constitution-Making: The Authoritarian Temptation and the Arab Spring". Osgoode Hall Law Journal. 53 (2): 472–507. ISSN 0030-6185.
  4. Dorsey, James (21 June 2019). "Al-Azhar Struggles to Balance Politics and Tradition". LobeLog (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
  5. "Ali Gumah: Sisi's most loyal Islamic scholar". Middle East Eye (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
  6. Elmasry, Mohamad (27 June 2015). "Ali Gumah: Sisi's most loyal Islamic scholar". Middle East Eye. สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
  7. "Ali Gomaa: Kill them, they stink". Middle East Monitor (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 27 January 2014. สืบค้นเมื่อ 6 October 2019.
  8. Asthana, N. C.; Nirmal, Anjali (2009). Urban Terrorism: Myths and Realities. Pointer Publishers. p. 117. ISBN 978-8171325986.
  9. Maged, Amani (3 November 2011). "Salafis vs Sufis". Al-Ahram Weekly Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2015. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  10. el-Beheri, Ahmed (9 May 2010). "Azhar sheikh warns West against double standards". Egypt Independent. สืบค้นเมื่อ 17 December 2014.
  11. Islamopedia: "Ali Goma" เก็บถาวร 8 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 20 January 2015
  12. Jay Tolson (2 April 2008). "Finding the Voices of Moderate Islam". US News & World Report. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2009. สืบค้นเมื่อ 24 August 2017.
  13. al-Hashemi, Bushra Alkaff; Rym Ghaza (February 2012). "Grand Mufti calls for dialogue about the internet". The National. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2012. สืบค้นเมื่อ 21 February 2012.
  14. "The Rebellion Within". The New Yorker. 2 June 2008.